วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

My Pedalboard


28 กันยายน 2559


ว่าด้วยเรื่องของบอร์ดเอฟเฟค แต่ละคนที่เล่นดนตรีโดยเฉพาะคนเล่นก้อนน่าจะมีประสบการณ์การจัดบอร์ดเอฟเฟคนะครับ จะจัดเวอร์ชั่น 1-2-3-4 ก็แล้วแต่ความสามารถเฉพาะตัว แต่คิดว่าคงไม่มีใครที่จบและหยุดที่บอร์ดเวอร์ชั่นแรกแน่นอน สำหรับผมก็เช่นกันครับ

บอร์ดนี้เป็นเวอร์ชั่น 3 จากการเล่นกีตาร์มาเกือบๆ 10 ปี (ถือว่าน้อยมาก) ถ้าสมัยก่อนนี่เปลี่ยนเอฟเฟคเป็นว่าเล่น ลองผิดลองถูกมาเยอะพอสมควร พออายุมากขึ้นก็เริ่มจับจุดได้ว่าเราต้องการอะไรครับ ตามกระแสมากก็จนมาก แฮะๆๆ


ว่าด้วยสาย Cable Patch ก่อน ผมใช้ของ FREE THE TONE รุ่น SOLDERLESS CABLE KIT (GOLD) SLK-LPro-10 ซึ่งต้องใช้ 2 ชุดด้วยกัน ชุดแรกบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปซื้อที่ร้าน Guitar Station SHIBUYA ส่วนชุดสองซื้อผ่านตัวแทนบ้านเราครับ คุณภาพดีหายห่วง มาครบทุกย่านเสียง (เค้ามีหัวทองกับหัวเงิน แรกๆคิดว่าไม่น่าต่างกันจนพี่พลกระซิบบอกว่าหางเสียงตัวสีทองดีกว่าครับ เลยแพงสุด) น่าจะดีสุดตั้งแต่ใช้งานมาเลยครับ
บอร์ดเอฟเฟคเป็นของ PEDALTRAIN ครับหลังจากเฉียดไปเฉียดมาหลายรอบ แถมมีประวัติเยอะจริงๆ หนึ่งคือ ต้องรอสั่งจากตัวแทนจำหน่ายเกือบปี(ผ่านพี่พล) เหตุที่รอนานเพราะศาลที่อเมริกามีคำสั่งห้ามจำหน่ายทั่วโลก(มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์) เนื่องจากมีคดีประวัติศาสตร์ระหว่าง Pedaltrain กับ Rockcase นี่อเมริกาอยู่นานกว่าจะจบ

ปัญหาต่อมา (จริงๆไม่น่าเรียกปัญหานะครับ อิอิ) คือ PEDALTRAIN ออกรุ่นใหม่ๆมาเยอะจริงๆ ต้องใช้เวลาศึกษารุ่นใหม่พักนึงว่า รุ่นไหนที่ตรงความต้องการเราที่สุด ก็มาจบที่ PEDALTRAIN JR อย่างทีี่คิดไว้ตอนแรก

ต่อมาคือ เมื่อ PEDALTRAIN มาถึง รุ่นใหม่ๆเค้าไม่มีขายึด POWER SUPPLY แถมมาให้เหมือนเมื่อก่อนแล้ว ต้องซื้อต่างหาก แล้วทีนี้ก็การตบตีแย่งชิงขายึดกันซิครับ สุดท้ายได้พละกำลังภายในจากพี่พล ทำให้ได้มาหนึ่งหน่วยครับ
ทีนี้มาไล่กันทีละก้อนเลย...

มาที่ล่างขวาสุดครับ VEMURAM SHANKS 3 Knobs ตัวนี้ทำมาจำนวนจำกัดครับ หายากพอสมควรเลยล่ะ เป็นเสียง Fuzz กึ่งๆ Boost ออกแบบโดย JOHN SHANKS มือกีตาร์ STUDIO ของอเมริกา ส่วนตัวถัดมาคือ VEMURAM TOMO FUJITA เป็นอาจารย์สอนกีตาร์ที่เบิร์คลี่ย์ พระอาจารย์ของ JOHN MAYER นี่เอง ตัวนี้ก็ทำจำนวนจำกัด 300 ตัวทั่วโลก และยุคนึงบ้านเราหาตัวนี้กันพอสมควร มีการ Pre Order ตัวนี้เข้ามาบ้านเราน่าจะหลักร้อยตัวเลยล่ะ ตัว TOMO ก็เป็นการต่อยอดจากตัว JANRAY ปกติ คือเสียงกลมหนาขึ้น ใหญ่ขึ้น เสียงแตกน้อยลง

ทั้งสองตัวนี้ได้มาตอนไปเที่ยวญี่ปุ่นครับ ไปหาที่ร้าน GUITAR STATION ชิบูยะ ตั้งใจไปหาตัว TOMO นี่ล่ะ แต่ลองถามตัว SHANKS  3K แรกๆเค้าไม่ยอมขายครับ ก็เลยตื้อพักนึงถึงยอมขายมาให้

ตัวที่ 3-4 เป็นของค่าย VEMURAM เหมือนเดิม

ตัวขวาเป็น SHANKS 4KNOBS ตัวนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากป๋าเศษช่วยหาให้ครับ เป็น Boost อีกตัวนึง

ตัวกลางเป็น NEOPLEX เป็น Boost อีกตัว บินข้ามน้ำข้ามทะเลไปซื้อมาเหมือนกันจากร้านเดิม

ตัวซ้ายนี่เป็นฟุตเปิดปิดของ CUSTOM AUDIO JAPAN (CAP) ซื้อที่ ISHIBASHI ชิบูย่า แรกๆจะเอามาใช้กับ PROVIDENCE CHRONO DELAY แต่ขายไปแล้วเลยใช้กับดีเลย์ตัวใหม่ไปครับ 
ไล่มาแถวบนครับ

ซ้ายสุดเป็น REVERB ของ NEUABER WET แต่เดิมแอมป์ตัวเก่าของมี REVERB ในตัวก็เลยติดการใช้งาน ต้องเปิดตลอด ช่วงนั้นน้องนัทลงขายพอดี ราคาดีเลยรีบสอยมาซะ สามปุ่มปรับง่ายๆเสียงฉ่ำมากๆ

กลางเป็น DELAY ของ FREE THE TONE ตอนออกใหม่ๆนี่รีบสอยมาอย่างไวด้วยความอยากได้มากๆครับ เสียงดีสมจริงมาก ปรับได้ละเอียดดี แต่ติดตรงที่ใช้งานยากไปนิด
เสียงแตกเป็น Suhr RIOT ครับใช้งานมานานและยังไม่มีตัวไหนมาแทนที่ได้ อันนี้ความชอบส่วนบุคคลนะครับ อิอิ

TUNER ก็เป็น TC ครับ เคยคิดจะเปลี่ยนเป็นตัวนั้นตัวนี้หลายรอบ แต่ในเมื่อยังใช้งานได้ดีก็ใช้ต่อไปซิ จะเปลี่นทำไม(วะ)

หมดละครับ สรุปว่าลองผิดลองถูกมาก็ร่วมสิบกว่าปี จนล่าสุดน่าจะเป็นชุดที่ใช้งานได้ยาวๆระยะนึง ต้องขอขอบคุณพี่พิเศษ พี่พล Sweetsound พี่เอ PDP และเจี๊ยบ+หมูดำด้วยนะครับ 

Yamaha MoxF8


ขอท้าวความเดิมเผื่อบางท่านยังไม่เคยอ่าน เดิมผมเป็นมือคีย์บอร์ดครับ (จริงๆก็เป็นนั่นล่ะ !!!) พอเรียนจบมหาลัยก็หยุดเล่นไป เลิกเล่นวงไปด้วย เผอิญมีเพื่อนในคณะมายัดเยียดขายกีตาร์ไฟฟ้าทั้งที่เล่นไม่เป็นเลยได้เริ่มเล่นกีตาร์ครั้งแรกตอนอายุ 21 แล้วก็เล่นมาตลอด คีย์บอร์ดตัวเดิมที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาก็นอนในกล่องนับแต่นั้น 

พอปี 2555 ลูกสาวผมเรียนเปียโนต้องหาอะไรมาซ้อมมือ จึงได้รื้อเจ้านี่มาบูรณะครั้งใหญ่ ผมก็ต้องมีการรื้อฟื้นวิชา กลับมาฝึกใหม่อีกครั้งเช่นกัน 


แต่....มันไม่จบแค่นี้ครับ อุอุ 


 เมื่อลูกสาวผมเรียนเปียโนระดับสูงขึ้นไป สกิลยากขึ้นเรื่อยๆ Keyboard 61 keys ไม่เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว ประกอบกับสัมผัสของคีย์บอร์ดกับเปียโนมันต่างกันมาก ทำให้เราต้องมองหาอะไรใหม่ๆเข้ามา

น้ำหนักคีย์สำหรับคีย์บอร์ด จะมี 3 ระดับ 
1.unweighted
2.semi-weighted 
3.weighted keys

unweighted keys
จะเป็นพวกคีย์บอร์ดทั่วไป ราคาต่ำๆถึงกลางๆ

semi-weighted keys
จะเป็นในคีย์บอร์ดไม่กี่รุ่น ราคาสูงนิดนึงถึงสูงมาก จะหน่วงมือนิดหน่อย แต่ไม่ถึงระดับเปียโน

weighted keys
จะเป็นพวกเปียโนไฟฟ้า หรือคีย์บอร์ดรุ่นสูง พวกนี้จะจำลองความหนักและหน่วงของเปียโนมาครับ แล้วแต่รุ่น แล้วแต่ยี่ห้อ แต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกัน

ทีนี้ สิ่งที่เราอยากได้คืออะไร และมีงบรองรับเพียงพอหรือไม่

จากสิ่งที่เราอยากได้มาสู่คำถามที่ต้องถามตัวเองเสมอเวลาเราจะซื้อของว่า 
1.เราอยากได้อะไรในตัวสินค้านั้น
2.ในงบประมาณที่เท่ากัน มีสินค้ารุ่นที่ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าหรือไม่
3.มีงบประมาณรองรับหรือไม่


จากประเด็นแรก สิ่งที่ผมอยากได้คือ คีย์บอร์ด 88 คีย์ไว้ให้ลูกสาวซ้อมมือ และให้ตัวเองซ้อมด้วย ซึ่งถ้า choice นี้จะคิดไม่ยากเลย เพราะเปียโนไม้ราคาสูงผมไม่มีปัญญาแน่ๆ บ้านก็หลังติ๊ดเดียวไม่มีที่วางอีก แฮะๆๆ 

จึงมาคิดถึงเปียโนไฟฟ้า บ้านเราราคาไม่แพงและมีบริการส่งถึงบ้านด้วย เพื่อนๆผมที่มีลูกเรียนเปียโนก็ซื้อแบบนี้กันทั้งนั้น วันหยุดเสาร์อาทิตย์เราจึงได้ไปนั่งเล่นและทดสอบเปียโนไฟฟ้าตาม Powerbuy ร่วมเดือนได้

แต่หลังจากที่ไปนั่งลองก็รู้สึกว่า มันไม่ใช่ น้ำหนักคีย์มันได้ครับ แต่เสียงมันไม่ได้จริงๆ..

ผมเริ่มตัด Choice ออกไปทีละนิดทั้งเปียโนไม้ เปียโนไฟฟ้า แล้วเริ่มกลับมามองคีย์บอร์ดที่เป็น 76-88 คีย์

สำหรับคีย์บอร์ดมือสองบ้านเรา 88 คีย์ไม่ค่อยมีใครขาย ส่วนมากจะเป็นเปียโนไฟฟ้า และ Stage เปียโนจริงๆ (อาจจะนานๆมาทีแต่ก็ยังแพงมาก) ซึ่งราคายังถือว่ายังสูงอยู่ 

Korg
เป็นตัวเลือกแรกๆที่อยู่ในใจผมมาตลอด มีรุ่นที่น่าสนใจอยู่หลายตัว ผมก็ใช้เวลาในวันหยุดไปทดสอบอยู่ 4-5 เดือนจนได้รุ่นที่น่าพอใจมารุ่นนึง สอบถามราคาก็คิดว่าเป็นไปได้ ก็เตรียมเงินจะไปซื้อเรียบร้อยในเดือนถัดไปครับ... 

จะว่าความสับเพร่าของผมเองด้วยที่ไม่โทรไปเช็คก่อนล่วงหน้า ถึงเวลาไปปรากฎว่าของหมดและต้องรออีกพักใหญ่ เลยต้องรอตามคิวอย่างเดียวครับ

พอไปอ่านรีวิวที่เวปเกี่ยวกับคีย์บอร์ดเลยทราบว่ารุ่นนี้มีคนไปเขียนรีวิวไว้ ทำให้กระแสดี คนตามหากันพอสมควร จากเหตุการณ์นี้เลยหยุดไปเพียงเท่านี้ครับ และเริ่มหาข้อมูลเพิ่มตัวถึงข้อเสียเจ้านี่บ้าง

ซึ่งจากการหาข้อมูลทั้งจากเวปในบ้านเราและสื่อฝรั่งเองก็บอกตรงกันว่า เจ้านี่มีปัญหาตรงที่บู๊ทเครื่องได้ช้ามาก เนื่องด้วยระบบปฏิบัติการของเค้าที่กินทรัพยากรเยอะ ใช้เวลาเกือบๆนาที เรียกว่าน้องๆคอมพิวเตอร์เครื่องนึงเลย ถ้าไปเล่นตามร้านหรืองานด่วนนี่ตายอย่างเดียวครับ และเจ้านี่มีคนบ่นเรื่องรวนบ่อยมาก ต่อมา ก็มีคนขายทิ้งเจ้ารุ่นนี้เยอะไปหมด (ไม่ขอบอกว่ารุ่นไหนยี่ห้ออะไรนะครับ แฮะๆๆ)

เมื่อได้เหตุผลมาแบบนี้ โจทย์ใหม่คือ ผมจึงมองหายี่ห้ออื่นๆเพื่อเปรียบเทียบครับ 

ย้อนกลับมาที่คีย์บอร์ดตัวเดิมครับ ตัวเก่าของผมที่ใช้อยู่คือ Korg X3 ซึ่งเป็น Music Workstation ถามว่า Music Workstation คืออะไร

Music Workstation
หมายถึง คีย์บอร์ดที่มีความสามารถในการกำเนิดเสียง (เป็น Sound Module) ไม่ว่าจะผ่านสัญญาณ Midi หรือ Keyboard สามารถบันทึกเสียง หรือ Midi รวมถึงสามารถทำหน้าที่เป็น Sampler และ Sequencer ได้ 

พูดง่ายๆว่า Music Workstation ตัวเดียวใช้ทำเพลงจบเลย ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว มักมีส่วนประกอบของ Synthesizer อยู่ภายใน 

(
อ้างอิงจาก http://www.patid.com/forums/thread-1315.html )

ทีนี้ ความจำเป็นใช้แค่ Sythesizer ธรรมดาๆก็ได้มั้ย ไม่ต้องถึงกับใช้เจ้านี่หรอก?
อันนี้ก็แล้วแต่คนใช้งานครับว่าซีเรียสเรื่องเสียงและการใช้งานแค่ไหน พเปรียบเทียบง่ายๆว่า แอมป์หลอดแพงๆกับแอมป์ทรานซิสเตอร์ตัวไม่พัน มันก็ดังเหมือนกัน จะซื้อแพงๆทำไม? อันนี้น่าจะตอบคำถามเรื่องเดียวกันได้

การบ้านครั้งใหม่ผมคือ การศึกษาข้อมูลจากคีย์บอร์ดยี่ห้ออื่นๆครับ บ้านเราหลักๆก็มี Roland Nord Kurzwiel และ Yamaha

Roland
ตัดไปได้เลยครับ ผมไม่ชอบ Sound และระบบการทำงานของเค้า บายเลยดีกว่า

Nord
นี่ก็ผ่านเหมือนกัน ราคาถือว่าสูงและลงทุนมากเกินตัวเราไปหน่อย

Kurzwiel
นี่ก็ไม่เก็ทกับระบบเค้าครับ ไปลองเล่นดูแล้วไม่โดนจริงๆ

ก็เหลือแต่ Yamaha ก่อนหน้านี้ผมรู้จักแต่ Yamaha เพราะสมัยเด็กๆเคยใช้ PRS8 และได้ลองพวก Yamaha W5 W7 เมื่อนานมาแล้ว รุ่นล่าสุดคือ Motif ซึ่งจะว่าไปเป็นรุ่น Top สุดของเค้า ราคาก็แสนกว่าๆก็ดูจะลงทุนเยอะไปอีกกะอีแค่คีย์บอร์ดใช้ซ้อมมือ

หลังจากนั้น ผมไปหาข้อมูลใน Youtube ก็ไปเจอรุ่นนี้ครับ Yamaha MoxF8 ซึ่งคุณโซ่ ETC ได้ทำคลิปแนะนำไว้ 

พูดง่ายๆคือ....
MoxF เป็น Music Worstation รุ่นย่อส่วนจาก Motif อีกที
MoxF ทำงานเหมือน Motif ทุกประการ
MoxF ใช้ Sound Library เดียวกับ Motif แต่ Layer เสียงอาจจะไม่หนาเท่า

MoxF ถูกกว่า Motif ครึ่งนึง อันนี้สำคัญสุดครับ 5555

เช็คราคาจากสำนักงานใหญ่ ถือว่าทำราคาได้โอเค และกระแสตอบรับในบ้านเราดีมากๆ จึงไปเข้าคิวกับเค้ามาตัวนึงเมื่อต้นปี 57 จนกุมภาพันธ์ 58 ถึงได้มาครับ (รอนานมาก T T) 

จุดเด่นของ Yamaha คือ Natural Sound คือให้เสียง Acoustic ที่เป็นธรรมชาติมากๆ ได้แก่พวกเสียงเปียโนไม้ String violin ฯลฯ เรียกได้ว่าเจ้านี้เค้าขึ้นชื่อเรื่องนี้เลย เราจึงเห็นชาวแจ๊สส่วนใหญ่ใช้ยี่ห้อนี้ครับ ^^ 

























ฟังก์ชั่นการทำงาน บอกตรงๆว่า ณ ตอนนี้ก็ยังไม่ค่อยคล่องนะครับ แฮะๆๆ


ตอนนี้ใช้ซ้อมมือ และตอนนี้ผมกลับมาเล่นดนตรีกับพี่ๆเพื่อนๆใหม่ เลยถือว่าได้ใช้งานเยอะเลยล่ะ


























สำหรับใครที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปศึกษาได้จากเวปของยามาฮ่านี้เลยครับ

Bonger Lafayette

26 กันยายน 2559 


ผมได้แอมป์ตัวนึงมาใช้งานปีกว่าๆครับ ถือได้ว่ายอดเยี่ยมมากๆ จนรู้สึกว่าเป็นอีกรุ่นนึงที่คุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์จริงๆ จนอดที่จะพูดถึงไม่ได้ นั่นคือ Bogner Lafayette ผมไปเจอแอมป์ตัวนี้จากการที่เอาบอร์ดเอฟเฟคไปจัดที่ Sweetsound ทำให้ได้ลองแอมป์ตัวนี้ และรู้สึกถึงอะไรบางอย่างที่ผมตามหา กลับบ้านไปนอนคิดทั้งคืน ลอง Inbox ไปสอบถามราคาพี่พล จนวันรุ่งขึ้นต้องกลับมาหิ้วกลับบ้านไปด้วย
 
Lafayette เป็นแอมป์ International Seies ที่เลิกผลิตเมื่อ มกราคม 2014 นี่เอง เนื่องจาก Reinhold Bogner and Jorg Dorschner ถือว่าเป็นผู้ผลิตแอมป์ที่สติเฟื่องมาก ชอบคิดพัฒนาแอมป์รุ่นใหม่ๆ วงจรใหม่ๆ ตลอดเวลา ทำให้เรามีแอมป์ รวมถึงเอฟเฟคดีๆมาให้เล่นกันอยู่เสมอ แต่ถึงจะหยุดผลิตไปแล้วแต่ถือได้ว่าเป็นแอมป์ที่สารพัดพิษรุ่นนึงเลยทีเดียว

Lafayette คือการผสมผสานกันระหว่างความเป็นยุค 50 แบบ Tweed  และ ยุค 60 ของหลอด EL84 แบบอังกฤษ Lafayette เป็นแอมป์ขนาดเล็กโดยใช้กำลังขับเคลื่อนจากหลอด EL84 ซึ่งสามารถตอบสนองต่อการเล่นได้อย่างดีเยี่ยม
 

โครงสร้างของแอมป์รุ่นนี้ถูกสร้างขึ้นจากไม้สน และบุด้วยสักหลาดมีลวดลายสวยงาม ทั้งนี้ หากเรามองแอมป์ทางรูปลักษณ์ภายนอกก็พบว่าเป็นแอมป์ที่นำเสนอความเป็นแอมป์วินเทจคลาสสิกที่มีความหลากหลายและเรียบง่าย จากการออกแบบโครงสร้างดังกล่าวช่วยให้ดอกลำโพง(Speaker) และตู้แอมป์ (pine cabinet) ให้การตอบสนอง และช่วยให้ทิศทางของเสียงเดินทางได้อย่างอิสระ ผู้เล่นหลายคนจะรู้สึกว่านี่คือ แอมป์ที่ให้เสียงที่มีชีวิตชีวา เสียงกว้างขึ้นเป็น 3 มิติเกือบทำให้เกิดเสียงราวกับว่าเสียงสะท้อนที่ได้เป็นภาพที่เราวาดไว้

ทีนี้เรามาดูสเปคกันครับ
Lafayette • 12 watt EL84 Class A cathode biased power amp • JJ ECC83s single triode 1st gain stage • JJ ECC83s 2nd gain stage and cathodyne phase inverter • Volume and Tone controls • 4 position Schizo tone stack gain control • 3 position standby switch for 6 or 12 watt operation • Single 8 ohm speaker out • 1x10 combo Celestion G10 • 1x12 combo Celestion G12H 8 ohm • Pine cabinet with Baltic birch floating baffle

มาดูฟังก์ชั่นการใช้งานบ้างครับ
ด้านซ้ายมี สวิทช์ 2 ตัว ตัวแรก คือ On-off เปิด-ปิด ตัวที่สองคือ การเลือกกำลังขับครับ อธิบายง่ายๆคือ hi = 12 w , Low = 6 w และ Standby ครับ

มาที่ด้านขวา มี 3 ปุ่ม Simple is the best จริงๆ

Volume ปรับความดังเบา รุ่นนี้มีระบบ On-board attenuator ในตัว ลดความดังแค่ไหนเสียงก็ออกมาเต็มอยู่ครับ

Tone  ปรับทุ้มแหลม หมุนไปทางซ้ายคือทุ้ม หมุนไปทางขวาคือแหลม


Schizo ปรับเลือกคาแร็คเตอร์ 1-2 เป็นเสียงคลีนที่มีคาแร็คเตอร์ประมาณ Tweed ครับ ส่วน 3-4 ออก Plexi ตามแบบฉบับ Vox AC30  ส่วนตัวผมชอบเล่นกับก้อนครับ




































มาว่ากันที่จุดเด่นของตัวนี้กันครับ เอกลักษณ์อย่างนึงของ Bogner คือ เสียงที่มีความหนาเป็นมวล Impact ดี และพุ่ง และเสียงธรรมชาติมากๆ คือ ต้นกำเนิดเสียงถ้าดี Bogner จะฟ้องทันทีไม่มีหลอกหู นี่ขนาดว่าเป็นแอมป์รุ่นเล็กๆนะครับ อุอุ

ท้ายนี้ ขอขอบคุณ พี่พิเศษ พี่เจย์ ธงใหญ่ พี่พล พี่เอ PDP สำหรับคำแนะนำสำหรับแอมป์รุ่นนี้ และให้ความช่วยเหลือครับ