ผมว่า BUDGET เป็นเรื่องใหญ่ในการเที่ยวเมืองนอกลำดับแรกๆสำหรับใครหลายๆคนรวมถึงผมด้วย ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมาบ้านเราถึงไม่ได้ไปไหนเลยด้วยความที่เราก็เคยคิดเหมือนคนอื่นๆว่า ค่าใช้จ่ายเยอะมากๆและมีภาระทางการเงินเยอะแยะไปหมด
ในปีต่อมาๆเราจึงเริ่มมองอะไรที่ใกล้ตัวและค่าใช้จ่ายไม่สูงอย่าง สิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์ก็ถือว่าเป็นประเทศนึงที่ดีและเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตให้ผมและครอบครัวเป็นอย่างมาก ฉะนั้นการจะไปเที่ยวไหนก็แล้วแต่เปรียบเทียบเหมือนกับการซื้อของซักชิ้น ถ้าเรารู้ว่าของที่เราจะซื้อเราจะได้อะไรจากมันมาบ้าง บวกลบแล้วคุ้มค่ากับการลงทุนและไม่เดือดร้อนก็ทำไปเถอะครับ แต่ถ้าจะทำแล้วการเงินชักหน้าไม่ถึงหลังเป็นหนี้เป็นสินก็พักไว้ก่อนดีกว่า
ในการเที่ยวครั้งนี้ อย่างที่ว่าไว้คราวก่อน เราทำการบ้านเรื่องค่าใช้จ่ายด้วยเช่นกัน ถามว่าดูตัวอย่างจากไหน
1.เวปทัวร์ต่างๆ ถ้าเข้าไปดูแพคเกจทัวร์อย่างเช่น HIS THAILAND จะมีบอกหมด เช่นไป 5 วัน 3 คืน(แบบของเรา) ค่าใช้จ่ายตลอดทริป 4X,XXX (ไม่รวมนั่นรวมนี่) ซึ่งเราสามารถเทียบเป็นไกด์ได้คร่าวๆเบื้องต้น
2.อากู๋ หรือ Google เราสามารถหาทุกสิ่งได้ในกูเกิ้ลและแน่นอนเวปพันธ์ทิพย์ ซึ่งเราสามารถเทียบเคียงข้อมูลคนที่มารีวิวไว้แล้วซึ่งใกล้เคียงกับความต้องการของเราได้ด้วย
3.ถ้าเรามีจุดมุ่งหมายที่จะทำได้แก่
3.1 ของที่จะซื้อราคาเท่าไหร่ ถามว่าจะรู้ได้ไง ย้อนกลับไปข้อ 2 คือเวปไซด์สินค้าตัวนั้นๆหรือร้านที่ขาย หรืออย่างแย่ๆคือ รีวิวในพันธฺทิพย์ซึ่งหลายๆคนมักจะเอามาอวดกันไว้ว่าซื้อมาเท่าไหร่(กูซื้อมาถูกกว่ามึงว่างั้น)
3.2 สถานที่ที่จะไป มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เช่นไปวัด ศาลเจ้า มีค่าทำบุญ , ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าขนมระหว่างทาง อันนี้เราต้องประมาณการเอาเองแล้วว่า อาหารแต่ละมื้อเราตั้งงบไว้เท่าไหร่ มีงบค่าใช้จ่ายขนมหรือของระหว่างทางวันละเท่าไหร่
3.3 ค่าเดินทางในแต่ละวัน อันนี้เป็นตัวแปรสำคัญอย่างนึง ซึ่งเรามีตัวช่วย 2 อย่างคือ
3.3.1 JAPAN RAIL PASS เป็นตั๋วรถไฟสำหรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะมีระยะเวลาบอกว่าใช้ได้กี่วัน ต่ำสุดคือ 7 วัน ข้อดีคือ นั่งรถไฟกี่เที่ยวก็ได้ ไปไหนก็ได้(ภายในโซนที่เค้ากำหนดไว้ หลักๆคือ JR ภายในโตเกียวนั่นล่ะ SUBWAY ใช้ไม่ได้นะครับ) ข้อเสียคือ แพงฉิบหาย
3.3.2 หากเราไม่ได้ตะบี้ตะบันเที่ยวหลายๆที่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อ JR Rail Pass ซึ่งราคาแพงมาก(ตกคนละ 29,110 Y หรือ 8 พันกว่าบาท) เราก็มีอีกทางเลือกหนึ่งคือ การซื้อตั๋วเป็นครั้งๆไปสำหรับการเดินทางไม่เยอะและไม่ไกลมาก และการซื้อตั๋ว 1 Day pass ซึ่งเหมาะกับการเดินทางไปหลายๆสถานที่และมีราคาที่ถูกมากๆ(เทียบกับ JR Rail Pass) ถามว่าบ้านเราใช้วิธีไหน เราใช้ทั้งสองวิธีตามข้อนี้ครับ ทั้งนี้เราจะดูจากโปรแกรมที่เราวางไว้เป็นหลัก
ตัวช่วยอีกตัวในการคำนวนค่าใช้จ่ายรถไฟคือ www.hyperdia.com ซึ่งเป็นเวปคำนวนเส้นทางรถไฟ JR ในเวปจะบอกเวลาเดินรถ ใช้เวลาในการเดินทางเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ต่อสายที่ 1 ไปสายที่ 2 ชื่อสายอะไร ฯลฯ เรียกว่าเวปนี้เวปเดียวเอาอยู่ แต่...ใช่ว่าเวปจะคำนวนถูกเสมอไปนะครับ ยังไงควรหาแผนที่รถไฟ JR มาแล้วดูเปรียบเทียบและวิเคราะห์ตามไปด้วย เพราะเวปนี้เค้าจะคำนวนโดยใช้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายน้อยสุด ซึ่งบางทีคุณอาจจะต้องการนั่งรถชมวิว หรือ อย่างกรณีของผมที่จะไปดีสนีย์ทั้งที่ต้องต่อรถแค่ 2 ต่อปรากฎว่าเวปมันคำนวนให้ต่อรถ 4-5 ต่อที่ซึ่งไม่ตรงกับที่เราคิดไว้(ผลคือเราไม่เชื่อครับ อิอิ)
จากทั้งหมดที่กล่าวมา เราสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายได้คร่าวๆแล้วว่าควรมี BUDGETที่เท่าไหร่ ถ้าเรารู้ว่าวันนี้เราไปไหน ทำอะไร นั่งรถสายอะไร กินมื้อละเท่าไหร่ รวมทริปนึงเราก็ตั้งงบประมาณได้ถูกละ
สำหรับผมมีตัวเลขในใจคร่าวๆแล้วว่ามีค่าใช้จ่ายสำหรับคน 3 คน/การเดินทาง 5 วันเท่าไหร่ และเงินสำรองฉุกเฉินที่ต้องพกไปเท่าไหร่ ทำให้เราจะต้องรู้ว่าควรดึงเงินสำรองก้อนไหน หรือจะระดมทุนมายังไง
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยน ตอนนี้ค่าเงินดิ่งลงไปเรื่อยๆแล้วแต่ตัวท่านๆละกันครับ ดูแนวโน้มต่างๆ รวมถึงข่าวเศรษฐกิจด้วย แต่อย่าไปคิดอะไรมากถ้าจะหากำไรจากตรงนี้ เพราะการขึ้นเงินของอัตราแลกเปลี่ยนมันเป็นเรื่องปกติอยู่ดี เอาแค่ว่ามันลงตัวกับค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้ก็พอละ คิดมากปวดหัวเปล่าๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น